สืบเนื่องมาจากบทบัญญัติของพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 ที่ได้มีการจำกัดสิทธิของทนายความ และเกิดผลกระทบต่อทนายความชั้นสอง รวมไปถึงประชาชนต่าง ๆ ที่มีความต้องการความรู้ความสามารถของทนายความชั้นสอง จึงทำให้เกิดประกายแห่งแนวความคิดในการก่อตั้งสถาบันของทนายความเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมการประกอบวิชาชีพของทนายความเอง เช่นเดียวกันกับนานาประเทศ ดังนั้น ใน พ.ศ. 2517 นายมารุต บุนนาค นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในขณะนั้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทนายความเพื่อก่อตั้ง "สภาทนายความ" เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทนายความการเคลื่อนไหวและต่อสู้ที่เป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่องกัน เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 15 ปี จึงได้ประสบความสำเร็จ โดยวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ที่ประชุมวุฒิสภาในการประชุมครั้งที่ 11/2528 ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติทนายความ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเล่มที่ 102 ตอน 129 วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2528 พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2528 เป็นต้นมาจนปัจจุบัน ข่าวใหม่ล่าสุดวันที่ 22/7/67
สภาทนายความเพิ่มอัตรากำลังทนายประจำโรงพักอีก 50 แห่ง รวมเเล้ว 303 โรงพักทั่วไทย เป็นการเพิ่มช่องประชาชนเข้าถึงกฎหมาย พร้อมเตรียมเพิ่มทนายอาสาทุกปีงบประมาณ 22 กรกฎาคม 2567 ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันนี้ (22 ก.ค.) เป็นต้นไป สภาทนายความ ได้เพิ่มสถานีตำรวจนำร่องอีก 50 สถานีตำรวจ เพื่อให้ทนายความอาสา ได้นั่งให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ประชาชน รวมจนถึงปัจจุบันมีทั้งหมด 303 สถานีตำรวจ จากเดิมสภาทนายความมีทนายความประจำโรงพัก 253 โรงพัก โดยวันนี้มีการเพิ่มอัตราอีก 50 โรงพักเป็น 303 สถานี ในปีงบประมาณต่อไป ก็เล็งที่จะเพิ่มทนายอาสาประจำโรงพักปีละไม่ต่ำกว่า 50 โรงพัก โดยการเพิ่มทนายประจำโรงพัก จะส่งผลดีที่จะเพิ่มช่องทางที่จะทำให้ประชาชน ได้ปรึกษาทนายความอาสาที่นั่งปรึกษากฎหมายที่สถานีตำรวจ เเละเรื่องการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างตำรวจกับทนายความ อย่างชาวบ้านบางคนเขาก็ไม่รู้ว่า เป็นคดีเเพ่งหรือคดีอาญา ก็ไปโต้เถียงกับพนักงานสอบสวน เเต่พอมีทนายความไปนั่งให้คำปรึกษา ก็ช่วยชี้เเจงเเละให้คำปรึกษาในทางเเพ่งไป ก็ช่วยทางตำรวจคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ ได้ ดร.วิเชียร ได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่มีทนายประจำโรงพักว่า เมื่อประมาณ 3 เดือนที่เเล้ว ตนเดินทางไปเยี่ยมโรงพักที่ภูเก็ต ก็ได้คุยกับผู้กำกับสถานีได้ขอบคุณตนโดยเล่าให้ฟังว่า มีกรณีที่ชาวบ้านขับรถชนกันไม่มีคนบาดเจ็บ ได้มาตกลงกันที่โรงพัก ฝ่ายที่ผิดก็บอกจะยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ 4 หมื่นบาท โดยจ่ายก่อน 1 หมื่นบาท อีก 3 หมื่นจะจ่ายภายหลัง เเต่พอถึงเวลานัดปรากฎว่า ฝ่ายที่ทำผิดไม่จ่าย ผู้เสียหายมาหาตำรวจบอกให้ตำรวจดำเนินคดี เอาคนที่ขับมาชนเข้าคุก ตำรวจก็ชี้เเจงว่า เป็นคดีเเพ่งไม่ใช่อาญา ผู้เสียหายก็ไม่ฟังไปเกณฑ์คนในชุมชนมาปิดล้อมโรงพัก ทำนองจะเผาโรงพัก มี ผกก.สถานีไปพูดเเล้วไม่ฟัง จนทนายประจำโรงพักของสภาทนาย ไปอธิบายเเละจะเขียนฟ้องทางเเพ่งให้ จึงได้มีการสลายตัว ซึ่งก็ถือเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันเเละกัน เเละเป็นหน้าที่ของสภาทนายความ ที่จะเเนะนำให้คำปรึกษาปัญหาข้อกฎหมายต่าง ๆ ให้กับประชาชน
วันนี้ (10 พฤษภาคม 2566) เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ : สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ให้ความรู้การดำเนินคดีแบบกลุ่มสำหรับผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมี ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมลงนามกับนายยิ่งยง นิลเสนา นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย และนายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรรมการประชาสัมพันธ์และรองเลขาธิการ นางสิริพร จังตระกุล เลขาธิการสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ลงนามเป็นสักขีพยาน เพื่อร่วมมือกันในการส่งเสริม ให้ความรู้ ช่วยเหลือ แนะนำ และเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายว่าด้วยเรื่องของการดำเนินคดีแบบกลุ่มจากความผิดตามกฎหมายหลักทรัพย์ให้แก่ทนายความผู้ลงทุนรายย่อย หรือประชาชนทั่วไป ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินคดีแบบกลุ่ม
ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า นับเป็นเรื่องใหม่ ของวิชาชีพทนายความในการเพิ่มความรู้และเติมประสบการณ์ความเป็นมืออาชีพ ด้านคดีความที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน หรือตลาดหุ้น ที่ซื้อขายกันอยู่ทุกวัน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับประชาชนนักลงทุน อาชีพทนายความจึงเป็นที่พึ่งในการแสวงหาความยุติธรรม และการให้ความช่วยเหลือเยียวยาในรูปแบบต่างๆ โดยสภาทนายความยินดีให้การส่งเสริมความรู้ คำแนะนำและเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลงทุนในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย ด้านนายยิ่งยง นิลเสนา นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย กล่าวว่า คดีเรื่องการฟ้องคดีแบบกลุ่ม เป็นเรื่องใหม่ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ประสบการณ์ความรู้ความคิดเห็นจากหลากหลายฝ่าย มาช่วยกันต่อเติม ตกผลึก และนำไปสู่การยกร่าง ศูนย์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลงทุนในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ในตลาดหลักทรัพย์อย่างเป็นรูปธรรมได้ในอนาคต และเป็นความร่วมมือที่จะนำไปสู่มรรคผล ของการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งช่วยทำให้เกิดบรรยากาศ แห่งการมีเสถียรภาพด้านการลงทุน บนหลักการมีธรรมภิบาลที่ดีได้อีกทางหนึ่ง การเตรียมการจัดตั้ง “ศูนย์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ในการฟ้องคดีแบบกลุ่ม Class Action” เป็นความท้าทายต่อภาพลักษณ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยิ่งนัก
ด้านหน่วยงานตำรวจไซเบอร์ กล่าวว่า เเนวทางในการคืนเงินผู้เสียหายคดีแบบกลุ่มนับว่าเป็นเรื่องใหม่จำเป็นที่จะต้องใช้ประสบการณ์ความรู้ความคิดเห็นจากหลากหลายฝ่าย มาช่วยกันต่อเติม ตกผลึก และนำไปสู่การยกร่าง ศูนย์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลงทุนในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม เเละหาเเนวทางดึงเงินกลับให้ผู้เสียหาย ในตลาดหลักทรัพย์อย่างเป็นรูปธรรมได้ในอนาคตต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนา “การดำเนินคดีแบบ Class Action” เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม หรือ Class Action ให้แก่ผู้ที่สนใจและผู้ลงทุน และเพื่อสนับสนุนผู้ที่ได้รับความเสียหายในตลาดทุนจากการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ได้รับการคุ้มครองและมีช่องทางการเยียวยาความเสียหาย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 ณ หอประชุมศุกรีย์ แก้วเจริญ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้รู้แก่ผู้ลงทุนและผู้สนใจในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การดำเนินคดีแบบกลุ่มมีผลบังคับใช้ ในปี 2558 ผ่านช่องทางสื่อของสำนักงานและสื่อมวลชน ทั้งในรูปแบบของกราฟิก และบทความ รวมทั้งการจัดสัมมนาโดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ลงทุนเป็นส่วนหนึ่งของการทำหน้าที่และบทบาทของ ก.ล.ต. ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุน ในงานเสวนครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการ ด้านกฎหมายและทนายความซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการดำเนินคดีแบบกลุ่มเข้าร่วมเป็นวิทยากร ประกอบด้วย นายพงษ์เดช วานิชกิตติกูล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดร.ภูมิศิริ ดำรงวุฒิ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายจิณณะ แย้มอ่วม อนุกรรมการด้านการเงินการธนาคาร สภาองค์กรของผู้บริโภค โดยผู้ร่วมเสวนาได้แบ่งปันประสบการณ์ มุมมอง และความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและการปฏิบัติในการดำเนินการคดีแบบกลุ่ม เช่น กระบวนการ ขั้นตอน และระยะเวลา รวมทั้งประเภทความผิดที่สามารถฟ้องคดีแบบกลุ่มได้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี สัดส่วนการได้รับเงินคืนและค่าเยียวยาจากการเป็นผู้เสียหาย เพื่อสร้างการรับรู้ให้ผู้เข้าร่วมเสวนาเข้าใจเรื่องการดำเนินแบบกลุ่มได้ชัดเจนมากขึ้น